สุทัตตา นิลชัง เขียน
เมธาวี จรรยานนท์วิทย์ พิสูจน์อักษร
กุลธิดา คำขวัญ ภาพประกอบ
“สตรีก็เป็นเช่นบุรุษ ชายมิได้มากกว่าหญิง ทุกคนที่ถือกำเนิดขึ้นมาล้วนเท่าเทียมกัน”
Plato
เพศ คือคำที่เปราะบาง มีคำโบราณที่กล่าวไว้ว่า “เพศชายย่อมเป็นผู้นำ เพศหญิงย่อมเป็นผู้ตาม” คำกล่าวนี้จริงหรือ ? นี่เป็นประเด็นที่มีการถกเถียงกันมาอย่างยาวนานตั้งแต่ในสมัยอดีตกาลว่า เหตุใดเพศชายจึงได้รับโอกาสในการเรียนหนังสือ แต่เพศหญิงกลับถูกกีดกัน เหตุใดเพศชายจึงได้เป็นนักปกครอง แต่เพศหญิงกลับไม่มีสิทธิแม้แต่จะออกเสียง ทว่าในช่วงเวลานั้นได้มีบุคคลหนึ่งซึ่งคิดต่างออกไป เมื่อนักปรัชญาชาวกรีกโบราณ นามว่า Plato ต้องการที่จะสร้างโลกในอุดมคติ โลกที่เพศหญิงสามารถมีโอกาสในการเล่าเรียน เข้าร่วมในการออกรบ บริหาร และการปกครอง โดยเขาถ่ายทอดความคิดออกมาในรูปแบบงานเขียนที่ชื่อว่า “THE REPUBLIC” งานเขียนนี้ได้สะท้อนถึงเรื่องรัฐศาสตร์ กฏหมาย ปรัชญา และที่สำคัญคือกล่าวถึงเรื่องธรรมชาติความเป็นมนุษย์

มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีศักยภาพอันไร้ขีดจำกัด สามารถเรียนรู้ สื่อสาร เข้าใจ และพัฒนาตนเองได้ นี่เป็นเหตุผลที่ Plato เชื่อว่าเพศหญิงสมควรได้รับการศึกษาไม่น้อยไปกว่าเพศชาย และการศึกษาสามารถช่วยให้เพศหญิงสามารถเลือกอาชีพได้หลากหลายและยังเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิต ซึ่งแนวคิดของ Plato ในยุคสมัยนั้นถือว่าปฏิบัติได้ยากด้วยสถานภาพ หรือฐานะทางสังคมของเพศหญิงที่ยังไม่ค่อยจะได้รับการยอมรับนัก (รุ่งนิภา.เหลียง, 2561)
ทั้งนี้ในเวลาต่อมาได้มีการจัดตั้งองค์กรที่เรียกว่า Feminism ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอุดมการณ์ในการปกป้อง คุ้มครอง สิทธิของเพศหญิงในด้านต่างๆ เช่น การเมือง เศรษฐกิจ สังคม เป็นต้น อีกทั้งยังได้สนับสนุนถึงความเท่าเทียมทางด้านการศึกษาที่สอดคล้องกับความคิดของนักปรัชญา Plato และการจ้างงาน รวมถึงการเข้าช่วยเหลือสตรีจากปัญหาความรุนแรงต่างๆ เป็นองค์กรผู้สนับสนุนสิทธิและความเสมอภาคของเพศหญิงอย่างเเท้จริง (wikipedia, 2561)

Malala Yousafzai เป็นตัวอย่างสตรีที่มีอิทธิพลอย่างมากในการขับเคลื่อนสิทธิการศึกษาให้แก่เด็ก ๆ ทั่วโลก เธอเป็นเด็กชาวปากีสถานซึ่งถูกกีดกันด้านการเรียนหนังสือ จนได้ออกมารณรงค์เรียกร้องสิทธิ โดยเริ่มจากการกล่าวสุนทรพจน์ในชุมนุมต่อต้านการโจมตีโรงเรียนสตรีของ Taliban ในเรื่อง How dare the Taliban take away my basic right to an education ต่อมาเธอได้เข้าไปเป็นนักเขียนในเว็บบล็อค BBC ในนามแฝงที่ชื่อว่า Gulmakai โดยถ่ายทอดเรื่องราวการจำกัดสิทธิสตรีต่าง ๆ เช่น ห้ามผู้หญิงแต่งกายสีฉูดฉาด ห้ามผู้หญิงเรียนหนังสือ เป็นต้น ทำให้ผู้คนเริ่มเห็นถึงปัญหาและเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น เรื่องการคืนสิทธิให้แก่เด็ก ๆ อีกทั้งได้เขียนหนังสือเรื่อง “I am Malala” เพื่อเป็นหนึ่งในกระบอกเสียงที่ถ่ายทอดเรื่องราวความไม่ยุติธรรมที่เด็ก ๆ ไม่สมควรจะได้รับ จากหนังสือเล่มนี้ทำให้ทุกคนทั่วโลกได้ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญเรื่องความเท่าเทียมด้านสิทธิของเด็กและสตรี นอกจากนี้ยังได้สร้างโรงเรียนขึ้นเพื่อเด็กผู้หญิง Malala Yousafzai All-Girls School จากทุน Malala Fund

Malala เป็นเด็กผู้หญิงที่กล้าออกมาเรียกร้องสิทธิด้านการศึกษา บอกเล่าเรื่องราวทำให้ผู้คนทั่วโลกได้รับรู้ถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสตรีที่ถูกจำกัดสิทธิ ทำให้เธอเป็นสตรีที่อายุน้อยที่สุดในโลกซึ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ และรางวัลอื่น ๆ อีกมากมาย (ปริญญา ชาวสมุน, ม.ป.ป.) (มาลาลา ยูซาฟไฟเปิดโรงเรียนสำหรับเด็กผู้หญิง, ม.ป.ป.)

เมื่อเพศหญิงเริ่มเข้ามามีบทบาทและเป็นหนึ่งเดียวกับสังคม ทำให้ปัจจุบันนี้ทุกคนต่างมีความเท่าเทียมกัน มีอิสระเสรีในการใช้ชีวิตของตนที่อยู่บนพื้นฐานความพอดีอย่างไม่มีข้อกังขาเรื่องเพศอีกต่อไป
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
wikipedia. (2561, 10 1). คตินิยมสิทธิสตรี. Retrieved from wikipedia: https://th.wikipedia.org/wiki/คตินิยมสิทธิสตรี
รุ่งนิภา.เหลียง. (2561, 1 14). สตรีกับการศึกษาในทัศนะของเพลโต. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร.
ปริญญญา ชาวสมุน, ป. (n.d.). “I Am Malala” เธอคือเด็กหญิงผู้เปลี่ยนโลก. Retrieved from กรุงเทพธุรกิจ:
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/615806
มาลาลา ยูซาฟไฟเปิดโรงเรียนสำหรับเด็กผู้หญิง. (n.d.). Retrieved from Amnesty International Thailand:
https://www.amnesty.or.th/about-us/success/3
ขอขอบคุณภาพจาก
https://www.amnesty.or.th/about-us/success/3
https://kaseythomas.github.io/kaseyrepository/projects/p3/index.html
theasianschool.net/blog/child-labour-and-right-to-eduction/